Last updated: 8 ต.ค. 2567 | 153 จำนวนผู้เข้าชม |
การนำเข้าสินค้าเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน ซึ่ง CS Import หรือผู้ที่รับผิดชอบการจัดการนำเข้าสินค้าจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี ในปี 2024 กฎระเบียบและข้อกำหนดบางอย่างอาจมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าของคุณจะผ่านขั้นตอนศุลกากรได้อย่างราบรื่น การเตรียมเอกสารนำเข้าให้ครบถ้วนจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
บทความนี้ได้รวบรวมลิสต์เอกสารที่ CS Import ต้องรู้จักและไม่ควรพลาด ไม่ว่าจะเป็นเอกสารหลักที่ใช้สำหรับการนำเข้า การขออนุญาตศุลกากร หรือเอกสารเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสินค้าแต่ละประเภท มาเรียนรู้และเตรียมความพร้อม เพื่อให้การนำเข้าสินค้าของคุณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไร้ปัญหา
CE Logistics Thailand ได้รวบรวมเอกสารไว้ดังต่อไปนี้
1. BL (Bill of lading) : ใบตราส่งสินค้าทางเรือ
ใบนี้เป็นอีกใบที่สำคัญมากๆ สำหรับคนทำ CS Import และ Shipping นั่นคือใบที่ผู้ส่งออกต้องให้ข้อมูลกับทางผู้ให้บริการขนส่ง (บริษัทขนส่งเพื่อออกเอกสารนี้) คนทำ CS Import และผู้นำเข้าเองต้องตรวจแบบร่างก่อนที่จะออกตัวจริงเพื่อป้องกันความผิดพลาด
2. Commercial invoice (CI)
ใบนี้เป็นเอกสารสำคัญมากๆ ที่คนทำ CS Import ทั้งหลายต้องเข้าใจและเรียนรู้
เพราะใบนี้เป็นเอกสารที่ผู้ส่งออกจะต้องออกใบนี้ให้กับผู้นำเข้า ใช้สำหรับแนบไปกับเอกสารอื่นเพื่อออกของกับกรมศุลกากร
*เสริมอีกนิดว่าในทางปฏิบัติเราอาจเจอปัญหาต่างๆ กับกรมศุลกากรได้ (ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษี เรื่องเอกสารการนำเข้า)
ฉะนั้นคนทำ CS Import ต้องเตรียมตัวให้พร้อมและหากเป็นไปได้ควรมีคนในบริษัทที่พร้อมเคลียร์ปัญหาทันทีหากมีปัญหาเกิดขึ้นครับ
3. Packing list (PL) : รายการบรรจุสินค้า
เป็นเอกสารสำหรับแจ้งว่าเป็นสินค้าประเภทใด สินค้าถูกบรรจุหรือ Packing มาแบบใด อยู่ในกล่องไหน โดยใบนี้จะออกโดยผู้ส่งออก ฉะนั้นเหล่าบรรดา CS Import ควรต้องเก็บเอกสารนี้ไว้ให้ดี เพราะหากเอกสารหายจะระบุสินค้าได้ยากมากจนเกิดความยุ่งยากและเสียเวลามากครับ
4. ใบขนสินค้าขาเข้า
เอกสารใบนี้เป็นเอกสารสำหรับชี้แจงข้อมูลสินค้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ประเภทสินค้า ราคา และจำนวน ให้กับกรมศุลกากรทราบ เพื่อนำไปคิดภาษีและจัดเก็บข้อมูลในการนำเข้าสินค้าของเรา
5. Form ต่างๆ
5.1(FormE) : เอกสารยืนยันถิ่นกำเนิด
มีหน้าที่เพื่อรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าว่าสินค้าที่ผลิตมาและส่งออกมาจากประเทศจีน ซึ่งเป็นสมาชิกที่ได้ลงนามใน ACFTA (ประเทศที่ได้ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนร่วมกันเอาไว้) ซึ่งปัจจุบัน ข้อตกลงดังกล่าวได้มีการปรับปรุงขึ้นใหม่ หรือเรียกว่า ACFTA Upgrading Protocol และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ทำข้อตกลงสิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน-จีน จึงทำให้ได้รับข้อยกเว้นในการลดหย่อนภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนต่ำสุด 0% เลยทีเดียว
ข้อควรระวังของการขอเอกสาร FORM E
*ผู้นำเข้าสินค้าต้องใช้เอกสาร Form E ตัวจริง ในการยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเท่านั้น เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีนำเข้าสินค้าอย่างถูกต้อง
*ในกรณีที่ข้อมูลในเอกสาร Form E ไม่ตรงกับข้อมูลในเอกสารที่ยื่นประกอบควบคู่กันแล้ว ทางเจ้าหน้าที่มีสิทธิที่จะปฏิเสธ หรือไม่อนุญาตให้สิทธิลดหย่อนภาษีนำเข้าสำหรับสินค้านั้นๆได้ครับ
5.2 Certificate of Origin (CO) : เอกสารยืนยันถิ่นกำเนิด
เป็นเอกสารที่แสดงว่า สินค้าผลิตจากที่ไหน วัตถุดิบที่ใช้ผลิตมาจากที่ใด เข้ากับข้อกำหนดการยกเว้นหรือลดภาษีหรือไม่ ปัจจุบันทุกประเทศมีสิทธิพิเศษทางภาษีแบบที่ต้องใช้ใบยืนยันถิ่นกำเนิดกันหมดแล้ว
ผู้ส่งออกและผู้นำเข้า คนทำ CS Import รวมถึงบริษัท Shipping ต้องศึกษามากๆ เพราะสามารถลดต้นทุนนำเข้าและส่งออกได้เป็นจำนวนมากเลยทีเดียว
CE Logistics หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อบรรดา CS Import และผู้นำเข้า-ส่งออก
3 ก.ย. 2567
10 ก.ย. 2567
20 ส.ค. 2567
29 ส.ค. 2567