โลจิสติกส์คืออะไร?ใช่การขนส่งหรือเปล่า?

Last updated: 11 มิ.ย. 2567  |  1069 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โลจิสติกส์คืออะไร?ใช่การขนส่งหรือเปล่า?

โลจิสติกส์คืออะไร?ใช่การขนส่งหรือเปล่า?
ในปัจจุบันหลายๆคนมีความเข้าใจว่าโลจิสติกส์นั้นก็คือการขนส่งแต่เพียงเท่านั้นแต่ก็ยังไม่ถูกทีซะเดียว
เพราะความหมายของโลจิสติกส์นั้นกว้างกว่ามาก กล่าวคือ 
• การขนส่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการณ์โลจิสติกส์
• กระบวนการณ์โลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

แล้วห่วงโซ่อุปทาน Supply Chain คืออะไรกันแน่?
ในความหมายของ Supply Chain แอดอยากให้ทุกคนนึกถึง ”โซ่” ที่มีการเกี่ยวกันไว้
ถ้า “โซ่” เส้นไหนเกิดมีปัญหาย่อมส่งผลเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันไปเป็นทอดๆ
โดย Supply Chain จะเริ่มตั้งแต่การจัดหาสินค้า การจัดหาวัตถุดิบ จนสิ้นสุดกระบวนการขนส่งสินค้าจนถึงมือลูกค้า
เพื่อตอบสอบความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า
“โดยสิ่งที่เชื่อมกระบวนการณ์ห่วงโซ่อุปทานเอาไว้ (Supply Chain) เรียกว่ากระบวนการณ์โลจิสติกส์นั้นเอง”

วันนี้แอดจะอธิบายกระบวนการณ์โลจิสติกส์ให้ทุกคนมองเห็นเป็นภาพเดียวกัน
ในกระบวนการณ์โลจิสติกส์ตามนิยามของ CE Logistics Thailand

• สิ่งแรกเริ่มจากจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
• การจัดการเรื่องบรรจุภัณฑ์ (Packaging Management)
• การจัดการเรื่องการขนส่ง (Transportation Management)
• การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management)
• การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management)

ซึ่งในแต่ละกระบวนการณ์นั้นมีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันดั่ง”โซ่”ที่แอดได้กล่าวไว้ข้างต้น
ถ้าหากกระบวนการณ์ไหนมีการจัดการที่หละหลวม แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบถึงกระบวนการณ์อื่นๆอย่างแน่นอน




ถ้าคุณทำงานสายโลจิสติกส์ ควรทำความเข้าใจในองค์ประกอบของกระบวนการณ์โลจิสติกส์ทั้งหมดมีดังต่อไปนี้

1.การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
หน้าที่หลักของกระบวนการณ์นี้คือเราจะต้องรู้ว่าสินค้าของเราเป็นอะไร มีจำนวนเท่าไหร่และต้องมีสินค้านั้นเมื่อไหร่ เพื่อให้สามารถเตรียมพร้อมสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างซัพพลายเออร์กับลูกค้าได้ทันที ในการจัดการสินค้าคงคลังให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทุกๆแผนกในองกรค์จะต้องทำงานสอดประสานกัน ตั้งแต่การจัดซื้อ การจัดการความต้องการ (Demand) ของลูกค้าเพื่อป้องกันสินค้า (Overstock) หรือการมีสินค้าคงคลังที่มากเกินไป หรือการ (Understock) ที่มีสินค้าน้อยเกินไป

2. การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management)
หน้าที่หลักของกระบวนการณ์นี้คือ การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในคลังสินค้าของเราให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้า เราต้องรู้ว่าสินค้าของเราคืออะไร สินค้าของเราถูกเก็บไว้อยู่ ณ จุดไหน จำนวนสินค้าในระบบของเรามีเท่าไหร่ จำนวนสินค้าในระบบกับสินค้าในคลังสินค้าของเรามีจำนวนสอดคล้องกันมั้ย ปัญหาในกระบวนการณ์นี้ส่วนใหญ่ที่พบเจอได้บ่อยครั้งคือ หาสินค้าไม่เจอ สินค้าเสียหาย ทำให้การจัดส่งสินค้าล่าช้า

3. การจัดการบรรจุภัณฑ์ (Packaging Management)
เรื่องบรรจุภัณฑ์อาจจะเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หลายๆคนอาจมองข้ามความสำคัญไป อาจกล่าวได้ว่า การจัดการบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเริ่มตั้งแต่การทำฉลากของสินค้า (Label) ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและกฏเกณฑ์ต่างๆของกฏหมาย
(ควรระวังเพราะมีบทลงโทษเกี่ยวกับความผิดด้านฉลากสินค้าตามพระราช-บัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค) การเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับประเภทของสินค้าเพื่อรักษาคุณภาพให้คงอยู่จนถึงวันส่งมอบก็สำคัญไม่แพ้กัน เพื่อความพึงพอใจของลูกค้านั้นเอง

4. การจัดการยานพาหนะ (Transportation Management Solution)
คือระบบการจัดการการขนส่ง ในเรื่องของยานพาหนะ และการดำเนินงาน รวมไปถึงการวางแผนเส้นทางในการขนส่งสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างผลกำไร การจัดการยานพาหนะในการขนส่งเป็นการจัดการในระบบติดตามการขนส่ง (Fleet Management) คือการจัดหายานพาหนะในการจัดส่งสินค้า และการจัดการหาเส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด (Route Management) ให้เดินทางขนส่งทางไหนที่จะมีประสิทธิภาพ คุ้มต้นทุนที่สุด ใช้ทรัพยาการให้คุ้มค่าที่สุดและทำลายสิ่งแวดล้อมได้น้อยที่สุด

5. การบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management)
เมื่อสินค้าถูกส่งจนถึงมือลูกค้าปลายทางเรียบร้อยแล้ว งานของโลจิสติกส์ก็ยังไม่จบนะจ้ะ ให้นึกถึงการบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM ซึ่งความหมายนั้นกว้างมากแอดจะมาขยายความในBlogถัดไป) เพราะอะไรทำไมทุกองค์กรถึงควรใช้ระบบ CRM เข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับลูกค้าของเรา เพราะข้อมูลการติดต่อ ข้อมูลการเข้าพบ ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทลูกค้าก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะหลงลืมไปไม่ได้เช่นกัน เพื่อการดูแลลูกค้าในปัจจุบัน และเพื่อรักษาฐานลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญทุกบริษัทควรให้ความสำคัญ

6. การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management)
โดยการบริหารคุณภาพโดยรวม หมายถึง การจัดระบบและการจัดการวินัยในการทำงาน เพื่อป้องกันความผิดพลาดเสียหาย โดยจะมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าในกระบวนการทำงาน ในทุกรายละเอียด และควรมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยทุกภาคส่วนในองค์กรจะต้องมีส่วนร่วม เพื่อปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

"โดยสรุปแล้วระบบโลจิสติกส์ มีขึ้นเพื่อบริหารและจัดการขนส่งสินค้า จากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และควบคุมประสิทธิภาพการขนส่งให้เป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า "การจัดการโลจิสติกส์ที่ดีย่อมส่งผลที่ดีต่อบริษัทอย่างแน่นอน" 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้