INCOTERMS 2020 คืออะไร?

Last updated: 26 Jun 2024  |  2200 Views  | 

INCOTERMS 2020 คืออะไร?

Incoterms 2020 คือข้อกำหนดสากลที่มีไว้ใช้สำหรับทำการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมีกฎระเบียบ 11 ข้อ ซึ่งครอบคลุมหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ขายและผู้ซื้อ

In
coterms2020 เป็น
ข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน 
โดยได้รับการยอมรับและใช้อ้างอิงสำหรับข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศทั้งจากผู้นำเข้าและผู้ส่งออกทั่วโลก
ซึ่งโดยปกติแล้วทุกๆ 10 ปี จะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงไปตามเทรนด์การค้า 
สำหรับฉบับใหม่ล่าสุดคือ Incoterms 2020 (เป็นฉบับที่มีการแก้ไขปรับปรุงใหม่จากปี 2010) และเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 เป็นต้นมา 



Incoterms ย่อมาจาก International Commercial Terms 
เป็นหลักปฏิบัติสําหรับข้อตกลงทางการค้าเป็นมาตรฐานสากลเหมือนกันทั้งโลก 
ถูกกำหนดขึ้นโดย สภาหอการค้านานาชาติ หรือ International Chamber of Commerce, Paris (ICC) 

ใจความสำคัญของ Incoterms 2020 อยู่ที่กฎระเบียบทั้ง 11 เทอม 
สามารถนำมาอ้างอิงและใช้กับการค้าภายในประเทศและการค้าภายนอกประเทศ 
โดย International Chamber of Commerce, Paris (ICC) 
ได้ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ขายและผู้ซื้อในข้อกำหนดในส่วนต่างๆไว้โดยละเอียดดังนี้

• กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละส่วนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
• กำหนดขอบเขตผู้รับผิดชอบความเสี่ยงเมื่อสินค้าเกิดความเสียหายหรือสูญหาย
• กำหนด จุดส่งมอบสินค้า/จุดรับสินค้าเป็นจุดที่ถ่ายโอนความรับผิดชอบ จากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ
• กำหนดผู้รับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายในการผ่านพิธีการศุลกากรขาออกและพิธีการศุลกากรขาเข้า

Incoterms 2020 
มีเทอมทางการค้าทั้งหมด 11 เทอม 
สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามวิธีการขนส่ง ได้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เทอมสำหรับการขนส่งในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือหลายรูปแบบ และอาจมีการขนส่งทางเรือเป็นส่วนหนึ่ง 
(Rules for any mode or modes of transport) ประกอบด้วย EXW, FCA, CPT, CIP, DAP, DPU, DDP



1. EXW: (ระบุสถานที่ส่งมอบ)
EXW หรือ Ex Works คือเงื่อนไข Incoterms ที่กำหนดให้ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า มารับสินค้า ณ สถานที่ที่ได้ระบุเอาไว้ 
ทำให้ความรับผิดชอบต่อสินค้าของผู้ขายหรือผู้ส่งออก จบลงเมื่อนำสินค้ามาวางไว้ ณ สถานที่ที่ระบุเอาไว้
ดังนั้นในเงื่อนไข EXW หรือ EX Works Term
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก จะสิ้นสุดความรับผิดชอบต่อสินค้า
ตั้งแต่สินค้าถูกส่งมอบขึ้นบนยานพาหนะของผู้รับขนส่งเป็นต้นไป

ผู้ประกอบการไทยมักเรียกการซื้อขายเทอมนี้ว่า
”ซื้อขายสินค้าราคาโรงงานไม่รวมค่าขนส่ง”
ภาระการจัดส่งสินค้า:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า ณ ที่ทำการของผู้ขายหรือผู้ส่งออก
โดยผู้ขายหรือผู้ส่งออก ไม่ต้องรับภาระการขนสินค้าขึ้นบนยานพาหนะของผู้รับขนส่งที่มารับ

ภาระความเสี่ยงเมื่อสินค้าเสียหาย:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า รับความเสี่ยงต่อการสูญหาย หรือความเสียหายของสินค้า เมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว

ภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่ง:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้านับตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า

ภาระค่าใช้จ่ายในการเดินพิธีการศุลกากร:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาออก/พิธีการผ่านแดน/พิธีการศุลกากรขาเข้าเอง



2. FCA:
FCA หรือ Free Carriage คือเงื่อนไข Incoterms ที่กำหนดให้ผู้ขายหรือผู้ส่งออก
รับภาระจนกว่าจะส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า ณ สถานที่ส่งมอบที่ระบุไว้
หลังจากดำเนินพิธีการศุลกากรขาออกเรียบร้อยแล้ว
ความรับผิดชอบของผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า จะเริ่มต้นตั้งแต่สินค้าถูกวางบนพาหนะของผู้รับขนส่งที่มารับสินค้า
ดังนั้นในเงื่อนไข FCA หรือ Free Carriage Term
จึงเป็นเงื่อนไขที่ผู้ขายหรือผู้ส่งออก มีหน้าที่เพียงขนสินค้าขึ้นพาหนะผู้รับขนส่งที่มารับสินค้า
และดำเนินผ่านพิธีการศุลกากรขาออก ส่วนที่เหลือเป็นความรับผิดชอบของผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า

ภาระการจัดส่งสินค้า:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก ส่งมอบสินค้าขึ้นบนพาหนะของผู้รับขนส่งที่ผู้ซื้อหรือผู้ส่งออกว่าจ้างให้หามารับสินค้า ณ สถานที่ที่ระบุ

ภาระความเสี่ยงเมื่อสินค้าเสียหาย:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า รับความเสี่ยงต่อการสูญหาย หรือความเสียหายของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้า

ภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่ง:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้านับตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า

ภาระค่าใช้จ่ายในการเดินพิธีการศุลกากร:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออกเป็น ผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาออก
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการผ่านแดน/พิธีการศุลกากรขาเข้า


3. CPT:
CPT หรือ Carriage Paid To คือเงื่อนไขที่ Incoterms กำหนดให้ผู้ขายรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
และความเสี่ยงของสินค้า จนกว่า
สินค้าไปยังสถานที่ปลายทาง
ตามที่ระบุเอาไว้ในเงื่อนไข CPT ณ สถานที่ ปลายทาง
ความรับผิดชอบของผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า จะเริ่มต้นรับความเสี่ยงเมื่อรับสินค้า ณ สถานที่ปลายทาง
การดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้า และขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะ
ดังนั้นในเงื่อนไข CPT หรือ Carriage Paid To Term
จึงเป็นความรับผิดชอบของผู้ขายหรือผู้ส่งออก
ไม่รวมถึงค่าประกันภัยสินค้าที่ขนส่ง หากผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า ต้องการให้ผู้ขายหรือผู้ส่งออก
ทำประกันภัยสินค้าให้ ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า ควรพิจารณาเงื่อนไข Incoterm CIP แทน

ภาระการจัดส่งสินค้า:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขนส่ง ณ สถานที่ที่ระบุ และผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า รับมอบสินค้าจากผู้รับขนส่ง ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ

ภาระความเสี่ยงเมื่อสินค้าเสียหาย:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า รับความเสี่ยงต่อการสูญหาย หรือความเสียหายของสินค้าตั้งแต่ผู้ขายหรือผู้ส่งออก ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขนส่งสินค้า ที่ผู้ขายหรือผู้ส่งออกว่าจ้าง

ภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่ง:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก มีภาระรับผิดชอบค่าขนส่งตั้งแต่จุดส่งมอบจนกว่าสินค้าจะไปถึงสถานที่ปลายทางที่ระบุ

ภาระค่าใช้จ่ายในการเดินพิธีการศุลกากร:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาออก
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการผ่านแดน/พิธีการศุลกากรขาเข้า



4. CIP: 
CIP หรือ Carriage Insurance Paid To คือเงื่อนไขของ Incoterms ในการค้าระหว่างประเทศ
ที่กำหนดให้ผู้ขายหรือผู้ส่งออก รับผิดชอบค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงของสินค้า
จนกว่าจะขนสินค้าไปถึงยังสถานที่ปลายทางตามที่ระบุเอาไว้
รวมถึงการทำประกันภัยสินค้า และดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาออก 
ดังนั้นในเงื่อนไข CIP หรือ Carriage Insurance Paid To Term
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า จะเริ่มต้นรับความเสี่ยงตั้งแต่สินค้าถูกส่งมอบให้แก่ผู้รับขนส่ง ณ สถานที่ปลายทาง
การดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้า และขนถ่ายสินค้าลง

ภาระการจัดส่งสินค้า:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขนส่ง ณ สถานที่ที่ระบุ และผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า รับมอบสินค้าจากผู้รับขนส่ง ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ

ภาระความเสี่ยงเมื่อสินค้าเสียหาย:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า รับความเสี่ยงต่อการสูญหาย หรือความเสียหายของสินค้าตั้งแต่ผู้ขายหรือผู้ส่งออกส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขนส่งสินค้า ที่ผู้ขายว่าจ้าง

ภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่ง:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก มีภาระรับผิดชอบค่าขนส่งตั้งแต่จุดส่งมอบสินค้าจนไปถึงสถานที่ปลายทางที่ระบุ และผู้ขายหรือผู้ส่งออก ต้องรับผิดชอบการทำประกันความเสี่ยงภัยต่อการสูญหาย หรือความเสียหายของสินค้าให้กับผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าด้วย โดยผู้ขายหรือผู้ส่งออก เป็นผู้ทำสัญญาและชำระค่าประกันภัยด้วยตนเอง

ภาระค่าใช้จ่ายในการเดินพิธีการศุลกากร:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาออก
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการผ่านแดน/พิธีการศุลกากรขาเข้า



5. DAP: (ระบุท่า หรือ สถานที่ปลายทาง)
DAP หรือ Delivery at Place คือเงื่อนไข Incoterms ที่ผู้ขายหรือผู้ส่งออกสินค้าจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง
ต่อความเสียหาย หรือการสูญหายของสินค้าจนกว่าสินค้าจะถูกส่งมอบ ณ สถานที่ปลายทางที่ตกลงกันไว้
แต่ไม่ต้องรับผิดชอบในการขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะจากผู้รับขนส่ง ณ สถานที่ปลายทาง 
สถานที่ปลายทางอาจสามารถเป็นได้ทั้งท่าเรือ, คลังสินค้า, คลังท่าเทียบเรือ (CY หรือ Container Yard)
คลังสินค้าทางอากาศยาน (Air Cargo Terminal), ถนน, หรือรถไฟ

ดังนั้นเงื่อนไข DAP หรือ Delivery at Place Term
ผู้ขายหรือผู้ส่งออกสินค้า จะไม่ต้องรับภาระในการขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะเมื่อถึง ณ สถานที่ปลายทางตามที่ระบุ 
ส่งผลให้ภาระในการขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะ ณ สถานที่ปลายทาง
ตกเป็นของผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าสินค้า

ภาระการจัดส่งสินค้า:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก ส่งมอบสินค้าขึ้นบนพาหนะของผู้รับขนส่ง พร้อมขนถ่ายสินค้าลง ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ

ภาระความเสี่ยงเมื่อสินค้าเสียหาย:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก มีความเสี่ยงต่อการสูญหาย หรือความเสียหายของสินค้าจนกว่าสินค้า
จะถึงสถานที่ส่งมอบสินค้าปลายทางที่ระบุของผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า

ภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่ง:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจนกว่าสินค้าจะถึงสถานที่ส่งมอบสินค้าปลายทางที่ระบุ

ภาระค่าใช้จ่ายในการเดินพิธีการศุลกากร:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาออกและพิธีการ
ผ่านแดน
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้า




6. DPU: (ระบุท่า หรือ สถานที่ปลายทาง)
DPU หรือ Delivery at Place Unloaded คือเงื่อนไข Incoterms ที่ผู้ขายหรือผู้ส่งออกสินค้า
จะส่งมอบสินค้า ณ สถานที่ปลายทางที่ตกลงกันไว้ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทั้งหมด
รวมถึงค่าใช้จ่ายในการขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะ ณ สถานที่ปลายทาง
จะเป็นความรับผิดชอบของผู้ขายหรือผู้ส่งออกสินค้า 
• โดย DPU: Delivery at Place Unloaded คือเงื่อนไขที่เพิ่มเข้ามาใน Incoterms 2020
• ซึ่งมาแทนที่ Delivered at Terminal หรือ DAT เพื่อให้ความชัดเจนว่าสถานที่ปลายทาง
สามารถระบุเป็นที่ใดก็ได้ตามที่ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า และผู้ขายหรือผู้ส่งออก ได้ทำการตกลงกันไว้
และไม่ได้จำกัดไว้เพียงแค่ที่ Terminal เท่านั้น
Remarks: *ก่อน INCOTERMS 2020
DPU (Delivery at Place Unloaded)
 ถูกเรียกว่า DAT (Delivery at Terminal)

ภาระการจัดส่งสินค้า:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก ต้องขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะที่ขนส่ง เมื่อสินค้ามาถึงสถานที่ปลายทาง
และส่งมอบสินค้า โดยวางสินค้าไว้ให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า มารับไปเอง ณ สถานที่ที่ระบุ

ภาระความเสี่ยงเมื่อสินค้าเสียหาย:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก รับความเสี่ยงทั้งหมดตลอดการขนส่งสินค้าและการขนถ่ายสินค้าลง ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ

ภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่ง:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจนถึงสถานที่ส่งมอบสินค้าปลายทางที่ระบุ

ภาระค่าใช้จ่ายในการเดินพิธีการศุลกากร:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาออกและพิธีการผ่านแดน
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้า




7. DDP: (ระบุสถานที่ปลายทาง)
DDP หรือ Delivery Duty Paid คือเงื่อนไข Incoterms ที่ผู้ขายรับความเสี่ยงและค่าใช้จ่าย
ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบ จนกว่าสินค้าจะไปถึงยังสถานที่ที่กำหนดไว้
ตามที่ระบุใน DDP Term ในขณะที่ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า มีหน้าที่เพียงแค่การรอรับสินค้า ณ จุดที่ตกลงกันไว้

ดังนั้นในเงื่อนไข DDP หรือ Delivery Duty Paid Term (ระบุสถานที่ปลายทาง)
จึงเป็นการกำหนดภาระผูกพันสูงสุดให้กับผู้ขายหรือผู้ส่งออก และภาระผูกพันต่ำที่สุดสำหรับผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า
เพราะผู้ซื้อไม่มีความเสี่ยงหรือความรับผิดชอบใดๆ จนกว่าสินค้าจะถึงยังสถานที่สุดท้ายปลายทางตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาซื้อขาย

ภาระการจัดส่งสินค้า:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก ส่งมอบสินค้าขึ้นบนพาหนะของผู้รับขนส่งพร้อมขนถ่ายสินค้าลง ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ

ภาระความเสี่ยงเมื่อสินค้าเสียหาย:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก รับผิดชอบความเสี่ยงทั้งหมดในการขนส่งสินค้า และการขนถ่ายสินค้าลง ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ

ภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่ง:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้าและการขนส่งสินค้า จนกว่าสินค้าจะถึงสถานที่ส่งมอบ ณ ปลายทางที่ระบุ

ภาระค่าใช้จ่ายในการเดินพิธีการศุลกากร:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาออก/พิธีการผ่านแดน/พิธีการศุลกากร
ขาเข้า


กลุ่มที่ 2 เทอมสำหรับการขนส่งทางทะเลและน่านน้ำภายใน (Rules for sea and inland waterway transport) 
ประกอบด้วย FAS, FOB, CFR, CIF



8. FAS: (ระบุท่าเรือต้นทาง)

FAS หรือ Free Alongside Ship คือเงื่อนไข Incoterms ที่ผู้ขายหรือผู้ส่งออก
รับภาระในการดำเนินพิธีการศุลกากรขาออก และต้องทำการส่งมอบสินค้า
ไว้ที่บริเวณข้างเรือ (Alongside Ship) ณ ท่าเรือต้นทางในประเทศผู้ขายหรือผู้ส่งออก
ดังนั้นในเงื่อนไข FAS หรือ Free Alongside Ship Term
ความรับผิดชอบของผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า จะเริ่มต้นตั้งแต่สินค้าถูกยกขึ้นไปวางไว้บนเรือ 
โดยข้อตกลงแบบ FAS Term จะใช้กับการขนส่งทางทะเล หรือทางน้ำในแผ่นดินเท่านั้น

ภาระการจัดส่งสินค้า:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก ส่งมอบสินค้าโดยจะนำสินค้ามาวางไว้ที่ข้างเรือ เช่น บนหน้าท่า หรือในเรือลำเลียงเทียบข้างเรือ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้

ภาระความเสี่ยงเมื่อสินค้าเสียหาย:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า รับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าเรียบร้อยแล้ว

ภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่ง:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับตั้งแต่สินค้าได้ถูกส่งมอบ

ภาระค่าใช้จ่ายในการเดินพิธีการศุลกากร:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาออก
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการผ่านแดน/พิธีการศุลกากรขาเข้า




9. FOB: (ระบุท่าเรือปลายทาง)
FOB หรือ Free on Board คือเงื่อนไข Incoterms แบบที่ผู้ขายหรือผู้ส่งออก มีภาระในการรับผิดชอบความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายในการส่งมอบสินค้าสิ้นสุดลงเมื่อสินค้าถูกยกขึ้นไปวางบนเรือ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ (ในประเทศผู้ส่งออก)
รวมถึงหน้าที่ในการทำเอกสารการส่งออก และดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาออก
ดังนั้นผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าสินค้า ก็จะเป็นผู้รับความเสี่ยงทันทีที่สินค้าถูกยกขึ้นมาพ้นกราบเรือเป็นต้นไป

ดังนั้นในเงื่อนไข FOB หรือ Free on Board Term 
หมายความว่าความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สินค้าอยู่บนเรือเป็นต้นไปจะถูกรับผิดชอบโดยผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า

และยังใช้ในการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า และผู้ขายหรือผู้ส่งออก ได้แก่
• ขอบเขตความรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า
• จุดส่งมอบและจุดรับสินค้า
• และขอบเขตความรับผิดชอบหากสินค้าเกิดความเสียหายหรือสูญหาย

โดยข้อตกลงแบบ FOB Term จะใช้กับการขนส่งทางทะเลหรือทางน้ำในแผ่นดินเท่านั้น
ภาระการจัดส่งสินค้า:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก ส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้บนเรือของผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ

ภาระความเสี่ยงเมื่อสินค้าเสียหาย:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า รับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว

ภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่ง:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับตั้งแต่สินค้าได้ถูกส่งมอบ

ภาระค่าใช้จ่ายในการเดินพิธีการศุลกากร:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการขาออก
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการผ่านแดน/พิธีการศุลกากรขาเข้า




10. CFR: (ระบุท่าเรือปลายทาง)
CFR หรือ Cost and Freight คือเงื่อนไขการขนส่งสินค้าสากล Incoterms แบบ Cost and Freight
ที่กำหนดให้ผู้ขายหรือผู้ส่งออก รับภาระในการขนส่งจนกว่าสินค้าถึงปลายทางที่ระบุในเงื่อนไข CFR หรือ Cost and Freight 
และผู้ขายหรือผู้ส่งออก จะหมดภาระเมื่อได้ขนสินค้าขึ้นไปยังกราบเรือ ณ ท่าเรือที่ทำการส่งออก
ซึ่งผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า จะเป็นผู้รับความเสี่ยงต่อความเสียหายของสินค้าทันทีที่สินค้าถูกขนขึ้นมาพ้นกราบเรือที่ท่าเรือส่งออก

ดังนั้นแม้ว่าเงื่อนไข Incoterm แบบ CFR ผู้ซื้อหรือนำเข้า จะรับความเสี่ยงตั้งแต่สินค้าถูกยกขึ้นพ้นกราบเรือ แต่ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือปลายทาง และภาระในพิธีการศุลกากรขาออกจะเป็นของผู้ขายหรือผู้ส่งออก
(แต่ไม่รวมค่าขนสินค้าลงจากเรือ ณ ท่าเรือปลายทาง)

ดังนั้นในเงื่อนไข CFR หรือ Cost and Freight Term
ค่าใช้จ่ายของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้นำเข้า จะเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นตั้งแต่การขนสินค้าลงจากเรือ ณ ท่าเรือปลายทาง

ภาระการจัดส่งสินค้า:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า รับมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้บนเรือ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ และรับสินค้าจากผู้รับขนส่งสินค้า ณ ท่าเรือปลายทางที่ระบุ

ภาระความเสี่ยงเมื่อสินค้าเสียหาย:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า รับผิดชอบความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้า เมื่อสินค้าถูกขนขึ้นพ้นกราบเรือ ณ ท่าเรือต้นทาง

ภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่ง:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก รับผิดชอบค่าใช้จ่าย และค่าขนส่งจนกระทั่งสินค้าถึงท่าเรือปลายทางตามที่ตกลงกันไว้
ภาระค่าใช้จ่ายในการเดินพิธีการศุลกากร:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาออก
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการผ่านแดน/พิธีการศุลกากรขาเข้า




11. CIF: (ระบบท่าเรือปลายทาง)
CIF หรือ Cost Insurance and Freight คือเงื่อนไขใน Incoterm รูปแบบหนึ่ง
ที่ประกอบไปด้วยราคาสินค้า (Cost) ค่าประกัน (Insurance) และค่าขนส่ง (Freight) 
ตามชื่อเต็มของ CIF ซึ่งความรับผิดชอบของผู้ขายหรือผู้ส่งออก จะสิ้นสุดลง
และถูกถ่ายโอนไปยังผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า เมื่อสินค้าถูกยกขึ้นวางไว้บนเรือที่ท่าเรือต้นทาง
ดังนั้นในเงื่อนไขของ CIF หรือ Cost Insurance and Freight Term
ใช้เป็นข้อกำหนดขอบเขต ให้กับผู้ส่งออก และผู้นำเข้า
• รู้ถึงขอบเขตความรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า
• ค่าประกันของสินค้า 
• จุดส่งมอบสินค้า และจุดรับสินค้า 
• ใครคือผู้รับผิดชอบหากสินค้าเกิดความเสียหายจากความเสี่ยงรูปแบบต่างๆ
ภาระการจัดส่งสินค้า:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า รับมอบสินค้าบนเรือ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ 

ภาระความเสี่ยงเมื่อสินค้าเสียหาย:
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า รับผิดชอบความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อสินค้าได้ถูกขนขึ้นพ้นกราบเรือ ณ ท่าเรือต้นทาง

ภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่ง:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก รับผิดชอบค่าใช้จ่ายและค่าขนส่งสินค้าจนกระทั่งสินค้าถึงท่าเรือปลายทาง
ตามที่ตกลงกันไว้ พร้อมต้องทำสัญญาประกันภัย และชำระค่าประกันภัยจากท่าเรือต้นทางไปยังท่าเรือปลายทางด้วย

ภาระค่าใช้จ่ายในการเดินพิธีการศุลกากร:
ผู้ขายหรือผู้ส่งออก เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการขาออก
ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า เป็นผู้ดำเนินการพิธีการผ่านแดน/พิธีการศุลกากรขาเข้า

 
ผู้ที่ต้องการติดต่อซื้อขายระหว่างประเทศ
ควรต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ INCOTERMS ให้เข้าใจ
และเลือกใช้เงื่อนไขให้เหมาะสมกับประเภทสินค้าและการประกอบธุรกิจของตน



"CE Logistics Thailand ยินดีและพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่ง
เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของคุณสามารถยืนหยัดและแข่งขันในตลาดโลกได้ หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม
สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทาง CONTACT US ทางทีมงานจะรีบติดต่อกลับให้เร็วที่สุดเพื่อประโยชน์แด่ลูกค้าของเรา"

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Privacy Policy  and  Cookies Policy