Last updated: 11 Jun 2024 | 592 Views |
ผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
ควรจะเตรียมความพร้อมในการค้นหาข้อมูลต่างๆ ของสินค้าไว้ก่อน
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเรื่องภาษีการนำเข้าหรือข้อกฏหมายศุลกากร
เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการนำเข้าสินค้าแบบไม่ถูกต้อง
จนอาจทำให้มีคดีความเกิดขึ้นตามมาภายหลังได้ครับ
เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงปัญหา108ในการนำเข้า-ส่งออก
"ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงมักนิยมใช้บริการนำเข้าสินค้าจาก ตัวแทนนำเข้าสินค้า หรือ ชิปปิ้ง (Shipping)"
นิยามคำว่า Shipping ของ CE Logistics
Shipping คือผู้ช่วยอำนวยความสะดวกในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าให้กับลูกค้า
เป็นคนกลางคอยทำหน้าที่ประสานงานติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในด้านเอกสารการนำเข้าหรือส่งออก
และติดต่อกับหน่วยงานกรมศุลกากรเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร เป็นต้น
CE Logistics เราเป็นตัวแทนนำเข้าสินค้าอย่างถูกต้องตามกฏหมาย
เรามีบริการชิปปิ้ง (Shipping) ที่สามารถช่วยประสานงานให้ลูกค้าของเราจากต้นทางมาจนถึงยังปลายทาง
และช่วยจัดเตรียมเอกสารรวมถึงให้ข้อมูลต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการนำเข้า-ส่งออก
ซึ่งในบทความนี้เรานำข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนนำเข้าสินค้ามาฝากผู้นำเข้า-ส่งออกกัน
ซึ่งเราเชื่อว่าจะเป็นประโยนช์สำหรับทุกๆ ท่านอย่างแน่นอน
1) ติดต่อกับโรงงานผู้จำหน่าย
การติดต่อกับโรงงานของผู้จำหน่ายนับเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการขนส่งสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่เราจะนิยมเรียกว่า ผู้จำหน่าย หรือ (Shipper)
โดยหน้าที่ของ Shipper จะเป็นการประสานงานกับลูกค้าเพื่อดำเนินการจัดการเรื่องการส่งออกสินค้า
(เรื่องกระบวนขนส่ง และตกลงว่าใครเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ฯลฯ)
หลังจากนั้นบริษัทชิปปิ้ง (Freight Forwarder & Shipping)
ถึงจะสามารถรับดำเนินการจัดการเรื่องเอกสารและการนำเข้าสินค้าให้เป็นตามระเบียบและกฎของศุลกากรต่อไป
2) ขั้นตอนการทำพิธีการศุลกากรขาออก
ในขั้นตอนนี้ทางผู้จำหน่าย (Shipper)
หรือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder & Shipping)
ที่ได้ทำการตกลงจัดจ้างเอาไว้ จะทำการแสดงสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อตรวจเช็คสินค้าที่กำลังจะนำออกจากประเทศนั้นๆ
3) กระบวนการเตรียมเอกสารสำหรับการนำเข้าสินค้า
“ก่อนที่ผู้นำเข้า หรือตัวแทนนำเข้าจะเอาสินค้าออกมาได้ จำเป็นจะต้องผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าก่อนทุกครั้ง”
ซึ่งปัจจุบันพิธีการศุลกากรใช้ระบบดิจิทัลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกข้อมูลพร้อมลงลายมือชื่อในโปรแกรมเพื่อส่งต่อขึ้นไปยังระบบคลาวด์ของกรมศุลกากร ในขั้นตอนนี้สามารถทำได้ด้วยตัวเอง หรือผ่านทางบริษัทชิปปิ้ง (หรือเรียกว่าตัวแทนผู้นำเข้าสินค้า)
*โดยเอกสารที่จำเป็นในการยื่นคือ "ใบขนสินค้าขาเข้า"
ข้อมูลที่ต้องใช้บันทึกลงไปในระบบประกอบไปด้วย
• ข้อมูลยานพาหนะที่นำสินค้าเข้ามา ไม่ว่าจะเป็น เรือ รถ หรือ เครื่องบิน
• ใบตราส่งสินค้า
• บัญชีรายการสินค้าทุกรายการ
• บัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ
• เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารผู้รับบรรทุก เอกสารผู้รับประกันภัยธนาคาร เป็นต้น
• ใบอนุญาตนำเข้า หรือ เอกสารอื่นๆ ในกรณีสินค้านำเข้าอาจมีข้อจำกัดตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
• สำหรับสินค้าที่เป็นเคมีภัณฑ์ หรือสินค้าที่ไม่สามารถแยกชนิดและคุณภาพได้ ต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้
• เอกรับรองการวิเคราะห์สินค้า (Certificate of Analysis)
• เอกสารแสดงรายละเอียดของสินค้า (Specification)
• เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสินค้า (Material Safety Data Sheet)
4) เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า
เมื่อทางกรมศุลกากรได้รับข้อมูลที่บันทึกลงในระบบคลาวด์เรียบร้อยแล้ว
กรมศุลกากรจะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้า
ซึ่งจะประกอบด้วย ชื่อ ที่อยู่ผู้นำเข้า เลขประจำตัวของผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร (HS Code) และราคาของสินค้า
*ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดในระหว่างการตรวจสอบข้อมูล ทางกรมศุลกากรจะแจ้งกลับมายังผู้นำเข้า เพื่อทำการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอีกครั้ง
หากทำการแก้ไขใหม่เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถทำการส่งข้อมูลใหม่ที่ได้แก้ไขเรียบร้อยแล้วส่งกลับไปให้ทางกรมศุลกากรตรวจสอบอีกครั้ง
(ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจเกิดข้อผิดพลาดได้หลายครั้ง หากข้อมูลยังไม่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์)
หากข้อมูลทั้งหมดถูกตรวจสอบว่าถูกต้องสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ทางกรมศุลกากรจะออกเลขที่ใบขนสินค้าให้เราครับ
5) ขั้นตอนตรวจสอบพิสูจน์ตามเงื่อนไขการชำระภาษีอากรขาเข้า
ขั้นตอนนี้เจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบพิสูจน์เกี่ยวกับรายละเอียดข้อมูลของสินค้า
โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ทางกรมศุลการกำหนดเอาไว้อย่างครบถ้วน
โดยเราจะแบ่งสินค้าออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
• (Green Line) คือใบขนสินค้าขาเข้าประเภทไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ โดยสินค้าประเภท (Green Line) ผู้นำเข้าสามารถนำใบขนสินค้าขาเข้า ไปชำระภาษีอากรและสามารถวางประกันที่เกี่ยวข้องได้ทันที
• (Red Line) คือใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ สำหรับสินค้าประเภท (Red Line) ผู้นำเข้าจะต้องนำใบขนสินค้าขาเข้า ไปติดต่อตามหน่วยงานที่มีหน้าที่ประเมินภาษีอากรตามประเภทของสินค้านั้นๆให้เรียบร้อยก่อน
หากเรียบร้อยแล้วจึงจะสามารถเปลี่ยนมาเป็นสินค้าประเภท (Green Line) เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
6) ขั้นตอนการตรวจปล่อยสินค้า
ในกระบวนการนี้ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการตรวจสอบสินค้า
ก่อนที่เจ้าหน้าที่จากกรมศุลกากรจะทำการปล่อยสินค้าออกมาจากคลังสินค้า
ดังนั้น ผู้นำเข้า หรือตัวแทนผู้นำเข้าต้องยื่นใบขนสินค้าพร้อมเอกสารแนบ รวมถึงใบเสร็จรับเงินที่ทำการชำระอากรแล้ว ไปด้วยครับ
*ขั้นตอนนี้ข้อมูลของสินค้าจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้
1.(Red Line) สินค้าต้องผ่านการตรวจสอบ (ตรวจพิกัดศุลกากร HS Code)
• หากเป็น (Red Line)
สินค้าที่ต้องผ่านการตรวจสอบพิธีการขนส่งทางบก จะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร ก่อนที่จะทำการปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากรต่อไปครับ
2.(Green Line) สินค้าได้รับการยกเว้นตรวจ
• กรณี (Green Line)
ใบขนสินค้ายกเว้นการตรวจ ใบขนสินค้าประเภทนี้จะใช้เวลาในการตรวจสอบน้อยมาก
7) กระบวนการขนส่งไปยังผู้รับ
เมื่อสินค้าได้ถูกตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สินค้านั้นๆถึงจะสามารถขนส่งต่อไปยังผู้รับได้ต่อไป
เมื่อผู้รับสินค้าได้รับสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงถือว่าเสร็จภารกิจการขนส่งสินค้าครับ